ไกลซีน (Glycine) คืออะไร?
ไกลซีน เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายเรานำไปใช้ในการผลิตโปรตีน จึงมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต และรักษาเนื้อเยื่อ และใช้สร้างสารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น ฮอร์โมน และเอนไซม์อื่นๆ ร่างกายสามารถผลิตไกลซีนได้เองจากกรดอะมิโนอื่นๆ นอกจากนี้ ยังพบไกลซีนได้ในอาหารหลายชนิดที่มีโปรตีนมาก หรือแม้แต่ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Glycine ก็มีความสำคัญเพราะ
ไกลซีนกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่ช่วยให้รู้สึกดี คือ Serotonin
ไกลซีนทําหน้าที่เป็นส่วนประกอบสําคัญของคอลลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีนที่ให้โครงสร้างกับกระดูก, ผิวหนัง, กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน รวมถึงโปรตีนสําคัญอื่นๆ
ไกลซีนมีบทบาทในการส่งสัญญาณประสาทและล้างสารพิษออกจากร่างกาย
ไกลซีนอาจมีประโยชน์ดังต่อไปนี้ แม้ว่าหลักฐานจะมีจํากัด แต่ก็จําเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม:
อารมณ์และความทรงจํา
การนอนหลับ
การฟื้นตัวของโรคเลือดสมอง (Stroke)
โรคหัวใจ
ความผิดปกติทางจิตเวชบางอย่าง เช่น โรคจิตเภท (Schizophrenia)
Glycine แตกต่างจากกรดอะมิโนชนิดอื่น (ที่ต้องได้รับจากอาหารเพียงอย่างเดียว) ในขณะที่ร่างกายเราสามารถผลิตไกลซีนได้เอง
บทความนี้ จะพิจารณาถึงประโยชน์และความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไกลซีน (Glycine) และงานวิจัยที่บ่งชี้ว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ยังมีเคล็ดลับเกี่ยวกับวิธีการเลือกและใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไกลซีนอย่างปลอดภัย.
ประโยชน์ของไกลซีน (Glycine)
บทบาทของไกลซีนที่ช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตและสุขภาพโดยรวมหลายด้าน มีการเคลมว่า การรับประทานไกลซีน สามารถป้องกันและรักษาโรค รวมทั้งเพิ่มคุณภาพ การนอนหลับและ อาการทางระบบประสาท (R) ได้
ไกลซีน เป็นกรดอะมิโนที่ทําหน้าที่ เป็นส่วนประกอบสําคัญของโปรตีนเฉพาะ เช่น คอลลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีนโครงสร้างที่พบในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
ไกลซีนคิดเป็น 33% ของคอลลาเจนในร่างกายมนุษย์ (R)
ไกลซีน ยังช่วยควบคุม กระแสเส้นประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งระบบนี้มีผลต่อไขสันหลังและสมอง ไกลซีนยังจับกับสารพิษเพื่อให้ร่างกายสามารถล้างออกได้
นอกจากไกลซีนที่ผลิตโดยร่างกายแล้ว คุณยังสามารถทานอาหารเสริมไกลซีนได้อีกด้วย การวิจัยในปัจจุบันส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่บทบาทของไกลซีนในการนอนหลับ, อารมณ์, โรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจ
ไกลซีนช่วยให้อารมณ์และความจำดีขึ้น
ไกลซีนช่วยกระตุ้นการผลิตเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้ "รู้สึกดี" ช่วยยกระดับอารมณ์, ปรับปรุงการนอนหลับ และเพิ่มความจําและการคิด
การศึกษาเกี่ยวกับหนูได้แสดงให้เห็นว่า การรับประทานไกลซีน จะช่วยเพิ่มระดับ serotonin (R) จากเรื่องนี้ ทำให้ผู้ผลิตบางรายอ้างว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไกลซีนเป็น "natural antidepressants." (สารกล่อมประสาทจากธรรมชาติ)
ไกลซีนช่วยการนอนหลับ
มีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไกลซีน ช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นในคนที่มีอาการนอนไม่หลับ (Insomnia) ตัวอย่างเช่น การศึกษาในปี 2015 จากญี่ปุ่นประเมินว่า เหตุใดการนอนหลับ จึงดีขึ้นในหนูหลังจากการให้รับประทานไกลซีน (R) เพื่อประเมินผลกระทบนี้ นักวิจัยได้ฝังหน่วย telemetry บนตัวสัตว์ เป็นเครื่องมือที่บันทึกและรายงานข้อมูล อย่างเช่น พฤติกรรม เช่น การเปล่งเสียง และการหายใจ และข้อมูลทางชีวภาพ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ และระดับออกซิเจน หลังจากการพักฟื้น หนูก็จะได้รับไกลซีนหรือน้ำ
หนูที่ได้รับไกลซีน จะมีความตื่นตัวลดลงอย่างมีนัยสําคัญ และเพิ่มการนอนหลับแบบไม่เคลื่อนไหวตา (NREM) ในช่วง 90 นาทีแรก เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม นักวิจัยสรุปว่า ไกลซีนส่งเสริมการนอนหลับ เพราะมันเปลี่ยนอุณหภูมิของร่างกายและ circadian rhythms นักวิทยาศาสตร์ทําการวิจัยในสัตว์อีกครั้ง ดังนั้นจึงไม่แน่ใจว่า ผลลัพธ์เหล่านี้จะนำมาใข้กับมนุษย์ได้หรือไม่ การศึกษาจําเป็นต้องอธิบายเพิ่มเติม เกี่ยวกับบทบาททางสรีรวิทยาของไกลซีนและศักยภาพในการรักษา เพื่อปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับ
แม้ว่า จะมีหลักฐานบางอย่างว่า ไกลซีนสามารถปรับปรุงการนอนหลับได้ แต่ก็มีการวิจัยเกี่ยวกับสัตว์หรือในการทดลองในมนุษย์ที่น้อยมาก ดังนั้นหลักฐานจึงมีจํากัด และจําเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม
ไกลซีนช่วยลดอาการจิตเภท (Schizophrenia)
นักวิจัยได้ศึกษาว่า ไกลซีนอาจใช้รักษาคนไข้โรคจิตเภทได้อย่างไร ซึ่งเป็นความเจ็บป่วยทางจิต ที่ทําให้เกิดอาการหลงผิด เห็นภาพหลอนและพฤติกรรมที่ผิดปกติ
จากการรีวืวการศึกษาในปี 2016 นักวิจัยพบหลักฐานที่ขัดแย้งกัน เกี่ยวกับผลกระทบของไกลซีนต่อโรคจิตเภท ตัวอย่างเช่น ในขณะที่การศึกษาบางชิ้นรายงานว่า การให้รับประทานไกลซีน พร้อมกับยารักษาโรคจิต ช่วยลดอุบัติการณ์ของผลข้างเคียงทางปัญญา แต่จากการศึกษาอื่นๆ ก็ไม่มีความแตกต่างเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้ยาหลอก (R) และมีบางงานวิจัย ที่เกี่ยวกับผลกระทบของไกลซีนต่อโรคจิตเภท แต่ผลลัพธ์ที่ได้ก็ขัดแย้งกัน
ไกลซีนช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic Stroke)
ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพบางครั้งก็สั่งจ่ายไกลซีนให้กับผู้ที่เพิ่งเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic stroke) โรคหลอดเลือดสมองตีบเกิดขึ้น เมื่อหลอดเลือดแดงในสมองแคบลงหรือเกิดการอุดตันทําให้การไหลเวียนของเลือดไปที่สมองลดน้อยลง (ขาดเลือด) หลักฐานที่สนับสนุนการใช้ไกลซีนสําหรับเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจน
การศึกษาในปี 2020 สรุปว่า ไกลซีนช่วยปรับปรุงโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดโดยการควบคุมการเผาผลาญกลูโคส, การตอบสนองต่อการอักเสบ (R)
อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาประชากรญี่ปุ่นในปี 2015 เรื่องไกลซีนและอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ในผู้ใหญ่ชาวญี่ปุ่นจำนวน 29,079 คน จากการสํารวจพบว่าอาหารที่มีระดับไกลซีนสูง ทําให้ความดันโลหิตซิสโตลิกสูงขึ้น ซึ่งสูงอยู่ในระดับเดียวกับผู้ชาย ที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง แต่จะไม่พบในผู้หญิง (R)
การศึกษาล่าสุดนี้ ขัดแย้งกับการศึกษาก่อนหน้านี้ ซึ่งบ่งชี้ว่า ไกลซีนในปริมาณสูงอาจปกป้องร่างกายและลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง
ไกลซีนช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
ไกลซีนเป็นสารต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระ (หมายถึงป้องกันหรือชะลอความเสียหายของเซลล์) ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ ดังนั้นนักวิจัยบางคนจึงได้ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างไกลซีนและโรคหัวใจ
ในการศึกษาในปี 2015 ใน Journal of the American Heart Association นักวิจัยได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับไกลซีนในพลาสมา กับกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (AMI: Acute Myocardial Infarction) (R) การศึกษาประชากรกลุ่มนี้ประเมิน 4,109 คนที่มีผล elective coronary angiography เพื่อวินิจฉัย Stable Angina (การอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ)
การศึกษาพบว่า ผู้ที่มีระดับไกลซีนในพลาสมาสูงกว่า จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจที่น้อยขึ้นและลดความเสี่ยงของอาการหัวใจวาย การศึกษานี้ยังมีจำกัด ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม
ไกลซีนช่วยสังเคราะห์กลูตาไธโอน (Glutathione Synthesis)
กลูตาไธโอน (Glutathione) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่พบได้ในทุกเซลล์ในร่างกาย และจะผลิตจากตับ มีบทบาทสําคัญหลายอย่าง รวมถึงการสร้างวิตามิน E และ C, ช่วยให้เอนไซม์บางชนิดทํางานและสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน จากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า กลูตาไธโอนสามารถชะลอการลุกลามของมะเร็งและลดความเสียหายของเซลล์ที่เกิดจากโรคอื่นๆ และกรดอะมิโนที่มีความสำคัญต่อการผลิตกลูตาไธโอนก็คือ ไกลซีน (Glycine)
บทบาทของอาหารเสริมไกลซีน ที่ช่วยในการสังเคราะห์กลูตาไธโอนได้รับการศึกษาอย่างมาก ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า Glycine สามารถเพิ่มระดับกลูตาไธโอนของเซลล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่บริโภคอาหารที่มีโปรตีนต่ำ (R) นอกจากนี้ เนื่องจากระดับ Glutathione ที่ลดน้อยลงตามธรรมชาติ เมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้นการเสริมไกลซีนจะมีประโยชน์อย่างมากในประชากรผู้สูงอายุ
ประโยชน์ทั่วไป
นอกเหนือจากประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพตามที่ระบุไว้ข้างต้น บางคนอาจจะใช้ไกลซีนเพื่อช่วยรักษา:
ต่อมลูกหมากโต
แผลที่ขา
ตับที่เสียหายจากแอลกอฮอล์
ความต้านทานต่ออินซูลินและโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2
เพิ่มมวลโปรตีนในกล้ามเนื้อ
อาการข้างเคียง
โดยทั่วไปถือว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไกลซีน มีความปลอดภัย ถ้าใช้ตามคําแนะนํา อย่างไรก็ตาม, มีการวิจัยเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับความปลอดภัยในระยะยาวของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไกลซีน
ปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ที่ใช้ glycine จะไม่พบผลข้างเคียงใดๆ แต่ก็มีบางคนอาจมีอาการในทางเดินอาหาร เช่น มวนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น
ข้อควรระวัง
เนื่องจากการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไกลซีน มีปฏิกิริยากับยารักษาโรคจิต เช่น Clozaril (clozapine) ดังนั้นคุณควรปรีกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้ glycine, หากคุณกําลังใช้ยาเหล่านี้
บุคคลต่อไปนี้ควรหลีกเลี่ยงไกลซีน เด็ก หญิงตั้งครรภ์ และคนที่กำลังให้นมบุตร
ขนาดรับประทาน
ไกลซีน มีหลายสูตรที่แตกต่างกัน โดยทั่วไป แนะนำในปริมาณ 500 มิลลิกรัม (มก.) ถึง 1,000 มิลลิกรัม
มีบางการวิจัย ที่ใช้ไกลซีนสูงมากปริมาณ 30 กรัมต่อวัน เมื่อให้ทานยารักษาโรคจิตผิดปรกติ (R) อย่างไรก็ตาม ควรหารือเกี่ยวกับการเสริมไกลซีนและปริมาณกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพก่อน
ครีมทาที่มีไกลซีนและกรดอะมิโน L-cysteine และ DL-threonine มีจําหน่ายตามใบสั่งแพทย์สําหรับใช้กับแผลที่ขา
การเก็บรักษาไกลซีน
ควรเก็บผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและผงไกลซีนไว้ในที่แห้งและเย็น ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่หมดอายุหรือเสียหายหรือเปลี่ยนสี
แหล่งอาหารที่มีไกลซีน
ไกลซีนหาได้ง่ายในอาหารหลายชนิด แหล่งอาหารที่อุดมด้วยไกลซีนที่ดี ได้แก่ พืชตระกูลถั่ว ปลา ผลิตภัณฑ์นม และเนื้อสัตว์ (R) เช่น ตามรายการด้านล่าง
Red meat: (1.5 to 2 g per 100 g serving)
Seeds (1.5 to 3.4 g per 100 g)
Turkey (1.8 g per 100 g)
Chicken (1.75 g per 100 g)
Pork (1.7 g per 100 g)
Peanuts (1.6 g per 100 g)
Canned salmon (1.4 g per 100 g)
Granola (0.8 g per 100 g)
Quinoa (0.7 g per 100 g)
Hard cheese (0.6 g per 100 g)
Pasta (0.6 g per 100 g)
Soybeans (0.5 g per 100 g)
Bread (0.5 g per 100 g)
Almonds (0.6 g per 100 g)
Eggs (0.5 g per 100 g)
Beans (0.4 g per 100 g)
-----------------------------
#drbunlue #NMP #NMN #NAD #ChapaGroupAndMadePhuwiang #ย้อนวัยไปกับ_drbunlue #antiaging #ชะลอวัย #สุขภาพดี #tiktokสุขภาพ #ลืมป่วย #healthy #healthycare #healthyfood #ดูแลสุขภาพ #อาหารเสริมชะลอวัย #Glycine
Komentáře