top of page
dr.bunlue

เควอซิทิน (Quercetin) มีประโยชน์ต่อสุขภาพและช่วยชะลอวัย!

อัปเดตเมื่อ 22 ม.ค.



เควอซิทิน (Quercetin) มีประโยชน์ต่อสุขภาพและช่วยชะลอวัย!
เควอซิทิน (Quercetin) มีประโยชน์ต่อสุขภาพและช่วยชะลอวัย!

เควอซิทิน (Quercetin) จัดเป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ชนิดหนึ่ง ที่ทำให้เกิดสีของพืช ผัก ผลไม้ และดอกไม้หลายชนิด (*)


เควอซิทิน (Quercetin) คืออะไร?


สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ เช่น เควอซิทิน มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ อนุมูลอิสระที่เป็นอันตราย (โมเลกุลที่ไม่เสถียร) มีบทบาทสําคัญที่ก่อให้เกิดโรคหลายอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดสมอง, มะเร็งและโรคเบาหวาน ฟลาโวนอยด์ช่วยต่อสู้กับอนุมูลอิสระโดยการทําให้เป็นกลาง ซึ่งจะช่วยปกป้องเซลล์ของร่างกายจากความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง


เราไม่สามารถสังเคราะห์เควอซิทิน (Quercetin) ในร่างกายได้เอง ดังนั้นการรรับประทาน เควอซิทิน (Quercetin) ผ่านแหล่งอาหารหรืออาหารเสริมจึงเป็นกุญแจสําคัญ แต่เควอซิทิน (Quercetin) มีปัญหาเรื่องการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย (Bioavailability) ได้น้อย ซึ่งมีหลายปัจจัยเกี่ยวข้อง เช่น การบริโภคอาหารอื่นร่วมกับเควอซิทิน , การเปลี่ยนแปลงของการเผาผลาญ เป็นต้น ล้วนมีผลต่อการดูดซึมของสาร เควอซิทิน (Quercetin) ในทางเดินอาหาร



ประโยชน์ของเควอซิทิน (Quercetin)






เควอซิทิน (Quercetin) ช่วยต้านการอักเสบ  


จากการศึกษาชี้ให้เห็นว่า เควอซิทิน (Quercetin) ช่วยบรรเทาอาการอักเสบในสภาวะต่าง ๆ รวมถึง โรคข้ออักเสบ, โรคภูมิแพ้ และ โรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อร่างกายพบสารที่เป็นอันตรายหรือระคายเคือง ร่างกายจะตอบสนอง ทำให้เกิดการอักเสบเกิดขึ้น ซึ่งเป็นปฏิกิริยาในการตอบสนองตามธรรมชาติของร่างกาย และการอักเสบไม่ได้บ่งบอกว่าจะต้องมีการติดเชื้อเสมอไป เควอซิทิน (Quercetin) ช่วยควบคุมการอักเสบโดยการยับยั้งเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการอักเสบ



เควอซิทิน (Quercetin) ปกป้องหัวใจ (Cardioprotective)


เควอซิทินมีประโยชน์ในการป้องกันหัวใจ จากการศึกษาในมนุษย์ พบว่าเควอซิทิน ช่วยให้หลอดเลือดแดงแข็งแรง โดยการเพิ่มการขยายเส้นเลือด และลดความดันโลหิตในผู้เข้าร่วมที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจจะทําให้เกิดความเสียหายต่อหลอดเลือดแดงได้ และตามมาด้วยหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง (*)    เควอซิทินยังช่วยต่อต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทําให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว ที่เกิดจากคอเลสเตอรอลไม่ดี ชนิด LDL



เควอซิทิน (Quercetin) มีฤทธิ์ต้านเบาหวาน (Anti-diabetic)


มีการศึกษาถึงประโยชน์ของเควอซิทิน ที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานได้ จากการรีวิวงานวิจัย Biomedicine and Pharmacotherapy ปี 2022 ชี้ให้เห็นว่า เควอซิทินสามารถลดน้ําตาลในเลือดที่สูงได้และช่วยการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระภายในเซลล์ นอกจากนี้ก็มีงานวิจัยที่ตั้งข้อสังเกตว่า ในประชากรจีนที่มีการบริโภคเควอซิทินทุกวัน ช่วยลดความชุกของโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 (*)



เควอซิทิน (Quercetin) ต้านการแพ้ (Anti-allergic)


เควอซิทิน (Quercetin) ทําหน้าที่เหมื่อนเป็นยาแก้แพ้ (Antihistamine) ด้วยการลดการหลั่งฮีสตามีนและสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ ที่อาจจะนําไปสู่อาการภูมิแพ้ได้ ในการศึกษาในมนุษย์ ที่ทำการทดลองแบบสุ่มซึ่งตีพิมพ์ในปี 2022 ได้ศึกษาผลของการกินเควอซิทิน ในผู้เข้าร่วมทดลองชาวญี่ปุ่นที่มีอาการแพ้ตามฤดูกาล ผู้เข้าร่วมที่ทานอาหารเสริมเควอซิทิน (Quercetin) พบว่ามีอาการภูมิแพ้ดีขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ เช่น คันตา จาม และมีน้ํามูกไหลเมื่อเทียบกับกลุ่มที่กินยาหลอก (*)



เควอซิทิน (Quercetin) มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง (Anti-cancer)


ฤทธิ์ต้านมะเร็งของเควอซิทิน (Quercetin) อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่เกิดจากคุณสมบัติในการลดการอักเสบ, ป้องกันความเสียหายของ DNA และจากกระบวนการ Apoptosis (การตายของเซลล์ที่ตั้งโปรแกรมไว้) ในเซลล์มะเร็ง จากการศึกษาในมนุษย์พบว่า การให้เควอซิทินร่วมกับเคอร์คูมิน (สารประกอบในขมิ้นชัน) จะช่วยลดขนาดและการเจริญเติบโตที่ผิดปกติในผู้ป่วยที่เป็นโรค polyposis adenomatous ซึ่งเป็นภาวะที่มีความผิดปกติในการเจริญเติบโตในลำไส้และทวารหนัก (*)



เควอซิทิน (Quercetin) ช่วยชะลอวัย (Anti-Ageing)


เควอซิทิน (Quercetin) มีคุณสมบัติเป็น Senolytic agent (*) ที่สามารถกำจัดเซลล์ที่เสื่อมสภาพได้ (Zombie cell) ทำให้เกิดพื้นที่ให้กับเซลล์เกิดใหม่เข้ามาแทนที่ และเซลล์ที่เสื่อมสภาพ จะปล่อยสาร SASP (*) ออกมา ซึ่งสารนี้จะดึงดูดให้เซลล์เม็ดเลือดขาวเข้ามาทำลายเซลล์ที่เสื่อมสภาพ แต่มีเซลล์ที่เสื่อมสภาพบางส่วนที่เซลล์เม็ดเลือดขาวไม่สามารถทำลายได้ เราเรียกว่า เซลล์ซอมบี้ (Zombie cell) และเซลล์นี้ก็จะยังคงปล่อยสาร SASP ออกมาตลอด ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เซลล์ข้างเคียงเกิดเสื่อมสภาพไปด้วย ซึ่งเป็นต้นเหตุของความชรา และโรคที่มากับความชรา รวมทั้งมะเร็งด้วย



เควอซิทิน (Quercetin) ป้องกันระบบประสาท (Neuroprotective)


เควอซิทิน (Quercetin) ช่วยปรับปรุงการทํางานของสมองและลดการอักเสบของระบบประสาท ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญในการลดลงของอาการรับรู้ความเข้าใจ ที่เกี่ยวข้องกับอายุ และโรคทางระบบประสาท เช่น โรคอัลไซเมอร์, โรคพาร์กินสัน และโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) การทดลองแบบสุ่มนาน 40 สัปดาห์ ที่ตีพิมพ์ในปี 2022 พูดถึงผลการศึกษาของการบริโภคเครื่องดื่ม ที่มีเควอซิทินเป็นประจํา กับอาสาสมัครชาวญี่ปุ่น ที่มีการลดลงของความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับอายุ กลุ่มที่บริโภคเครื่องดื่มเควอซิทิน (Quercetin) พบว่ามีการตอบสนองดีขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ การศึกษาบ่งชี้ว่า การรักษาด้วยเควอซิทิน (Quercetin) อาจจะช่วยป้องกันการลดลงของการไหลเวียนของเลือดในสมอง และกิจกรรมสมองที่เกี่ยวข้องกับความเครียด แม้ว่าความแตกต่างระหว่างการรักษาและกลุ่มที่ได้ยาหลอก จะไม่มีนัยสําคัญมาก (*)



เควอซิทิน (Quercetin) มีฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ (Antimicrobial)


มีรายงานการศึกษาที่บ่งชี้ว่า เควอซิทินมีคุณสมบัติในการต้านจุลชีพที่หลากหลาย จากการศึกษาในมนุษย์ พบว่า เควอซิทินมีฤทธิ์ต้านไวรัสที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 (*)   อย่างไรก็ตาม จําเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH: National Institutes of Health)



เควอซิทิน (Quercetin) ช่วยต้านสารพิษ (Anti-toxin)


เควอซิทินยังสามารถทําหน้าที่เป็นสารยึดเกาะกับสารกําจัดศัตรูพืชและโลหะหนัก ช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย จาการรีวิวงานวิจัยใน Molecule ปี 2022 ที่สรุปได้ว่า เควอซิทินมีศักยภาพในการป้องกันและควบคุมสารพิษที่เกิดจากอาหารเป็นพิษ, เชื้อรา และสารพิษอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อ พืช สัตว์และมนุษย์ (*)





อาหารเสริมที่สามารถใช้ร่วมกับเคอร์เซตินได้ดี?


  • เควอซิทิน (Quercetin) ร่วมกับสารกลุ่มซีโนไลติกอื่น มีสารเสริมภูมิต้านทานที่สามารถใช้ร่วมกันได้ดีกับเคอร์เซติน จากงานวิจัยพบว่า การให้สารเควอซิทินร่วมกับสารในกลุ่มซีโนไลติก (Senolytic agents) ตัวอื่น เช่น Dazatiniv, Fisetin, Theaflavin และ Apigenin ทำให้เสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกันในการกำจัดเซลล์ที่เสื่อมสภาพ (Zombie cell) ได้ดี

  • เควอซิทิน (Quercetin) ร่วมกับวิตามินซี เควอซิทินมักจะพบร่วมกับวิตามินซี ในพืชและผลไม้หลายชนิด โดยเฉพาะพวกพืชตระกูลส้ม มีงานวิจัยที่ชี้ว่า วิตามินซีและสารเควอซิทินจะออกฤทธิ์เสริมกันทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายดีขึ้น

  • เควอซิทิน (Quercetin) ร่วมกับซิงคฺ์ (Zinc) ธาตุสังกะสีเป็นที่รู้จักกันดี ด้านคุณสมบัติในการเสริมสร้างภูมิต้านทาน ซึ่งจะช่วยเสริมให้สรรพคุณด้านภูมิต้านทานของเควอซิทินดีขึ้น มีงานวิจัยที่ระบุว่า เควอซิทินทําหน้าที่เป็น zinc ionophore ในการนำส่ง Zinc cation ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า เควอซิทินช่วยเพิ่มการดูดซึมของสังกะสี

  • เควอซิทิน (Quercetin) ร่วมกับเรสเวอราทรอล มีการทำวิจัยในหนู ที่พูดถึงการให้เควอซิทินร่วมกับเรสเวอราทรอล จะทำให้มีการเพิ่มการแสดงออกของยีน UCP-1 ของไขมันสีน้ำตาลและทำให้เซลล์ไขมันสีขาว (White Adipose tissue: เป็นเซลล์ไขมันที่สะสมพลังงานในรูปไขมัน) ทำงานเหมือนกับเซลล์ไขมันสีน้ำตาล (Brown Adipose tissue: เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน) (*)



ขนาดเควอซิทิน (Quercetin) ที่แนะนำให้กินต่อวัน


วิธีดีที่สุดเพื่อให้ได้ประโยชน์จากเคอร์เซติน คือ การกินอาหารที่อุดมด้วยเควอซิทิน อย่างไรก็ตาม, การบริโภคเคอร์เซตินในรูปแบบอาหารเสริมอาจจะมีประโยชน์กับคนที่ไม่ชอบกินผักและผลไม้ การเสริมเควอซิทินจะเป็นประโยชน์มากสําหรับ ผู้ที่ต้องการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย, ลดการอักเสบ หรือช่วยเรื่องสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด


ปัจจุบัน ยังไม่มีปริมาณที่แนะนําต่อวันสําหรับเควอซิทิน อย่างไรก็ตาม จากการทดลองทางคลินิกรายงานว่า ยังไม่มีผลข้างเคียงที่มีนัยสําคัญกับการกินเควอซิทินในปริมาณสูงถึง 1,000 มิลลิกรัมต่อวันนานถึง 12 สัปดาห์ และทาง หน่วยงาน อย. ไทยก็อนุญาตให้ใส่เควอซิทินในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ถึง 1,000 มก.ต่อวัน


ในการทดลองทางคลินิก, มีการให้รับประทานเควอซิทินสูงถึง 2,000 มก. ต่อวัน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ก็ยังไม่มีอาการข้างเคียงใดๆ ร้ายแรง



อาการข้างเคียงของ เควอซิทิน (Quercetin)


เควอซิทินที่บริโภคผ่านทางอาหารโดยทั่วไปมีความปลอดภัย ในขณะที่การเสริมเควอซิทินยังไม่ก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรง แต่อาจจะมีอาการ ปวดหัว, ปวดท้องและรู้สึกเสียวซ่าในแขนและขา ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่พอพบได้บ้าง


การเกิดผลข้างเคียงจากการกินเควอซิทิน อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางคนอาจจะอ่อนไหวกว่าคนอื่น ผลข้างเคียงอาจเกิดขึ้นได้แม้ในปริมาณที่แนะนํา แต่หากคุณพบอาการข้างเคียงให้หยุดใช้และปรึกษาแพทย์ สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องไต หรืออาการแพ้ควรหยุดกินอาหารเสริมที่มีสารเควอซิทิน


สำหรับอาการข้างเคียงที่พอจะพบได้บ้าง เช่น ปวดหัว และอาการมวนท้อง เป็นต้น ถือว่ามีน้อยมาก จึงมีความปลอดภัยสูง ทาง อย. ไทยกำหนดให้ใส่เควอซิทินในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมได้สูงถึง 1000 มก.ต่อวัน แต่ถ้าสูงกว่านี้ อาจจะมีผลทำให้ไตทำงานหนักได้






เควอซิทิน (Quercetin) และข้อควรระวัง


สำหรับคนตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยของการกินเควอซิทิน จึงควรหลีกเลี่ยง เว้นแต่จะได้รับคําแนะนําจากแพทย์


อาหารเสริมเควอซิทิน อาจจะมีปฏิกิริยากับยาต่อไปนี้:


  • ยาฆ่าเชื้อ

  • ยาละลายลิ่มเลือด

  • ยาลดความดันโลหิต

  • ยาเคมีบำบัด

  • ยากลุ่มสเตียรอยด์ เช่น เพรดนิโซน

  • ยา Cyclosporine (ยากดภูมิต้านทานที่ให้ในคนเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ)

  • ยา Digoxin

  • ยาที่ขับทางตับ เช่น ยาลดคอเลสเตอรอล และยาแก้แพ้บางชนิด






อ้างอิง:-







#drbunlue #NMP #NMN #NAD #ChapaGroupAndMadePhuwiang #ย้อนวัยไปกับ_drbunlue #antiaging #ชะลอวัย #สุขภาพดี #tiktokสุขภาพ #ลืมป่วย #healthy #healthycare #healthyfood #ดูแลสุขภาพ #มณีแดง #RedGem #Quercetin #เคอร์เซติน #เควอซิทิน #SenolyticAgents


Comments

Rated 0 out of 5 stars.
No ratings yet

Add a rating
bottom of page