เควอซิทิน (Quercetin) จัดเป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่พบมากในผัก ผลไม้และสมุนไพรหลายชนิด มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระที่แรง ต้านมะเร็งได้ และยังช่วยเรื่องเส้นเลือดฝอยแตก
คนที่รับประทานเคอร์เซตินเป็นประจำจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านกีฬาและความอดทนได้ดี
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย Appalachian State University, North Carolina พบว่า การกินเควอซิทิน 1 กรัมทุกวัน ต่อเนื่องเป็นเวลา 14 วัน ทำให้การออกกำลังกายบนลู่วิ่งดีขึ้น
นอกจากนี้ ยังพบว่า สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ช่วยลดการบริโภคพลังงานและลดความอยากอาหารได้ดี จึงช่วยในเรื่องลดน้ำหนัก และทำให้สุขภาพดีขึ้นได้
เควอซิทิน (Quercetin) สมุนไพรต้านมะเร็งพบมากในพืชอะไร?
◼ ผลไม้ที่มีสารเควอซิทินสูง
แอปเปิ้ล (5 มก. / 100 กรัม) แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่นิยมทานกันมากที่สุดทั่วโลก และเป็นแหล่งสำคัญที่ให้สารเควอซิทินที่ดี
เบอร์รี่ (Berries: 22 มก. / 100 กรัม) ผลไม้กลุ่มเบอร์รี่ มีหลายชนิดด้วยกันและมีปริมาณของเควอซิทินต่างกัน เช่น แครนเบอร์รี่ มีสารเคอร์เซติน 22 มก. ต่อ 100 กรัม และ บลูเบอร์รี่ มี 7-14 มก. ต่อ 100 กรัม นอกจากนี้ผลไม้ในกลุ่มนี้ยังเป็นแหล่งสำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระ ที่รู้จักกันดีคือ สารแอนโทไซยานิน (Anthocyanins) ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง .
องุ่นดำ ( 3 มก. / 100 กรัม) องุ่นนอกจากจะเป็นแหล่งสำคัญของเควอซิทินแล้ว ยังมีสารเรสเวอราทรอล ที่รู้จักกันดีทั่วโลกด้านชะลอวัย
◼ ผักที่มีสารเควอซิทินสูง
หอมแดง (Red Onions: 39 มก. / 100 กรัม) หอมทุกชนิดจะมีสารเควอซิทินอยู่ด้วย แต่จะมีมากที่สุดในหอมแดง การปรุงอาหารที่สุกจะลดปริมาณสารเควอซิทินในอาหารได้
บร๊อคโคลี่ดิบ (Broccoli: 3 มก. / 100 กรัม) บร๊อคโคลี่และพืชในตระกูลเดียวกัน ถือเป็นแหล่งอาหารที่มีวิตามินและแร่ธาตุอยู่มาก ที่มีผลดีต่อสุขภาพ เช่น สารซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) และ indole-3-carbinol.
ผักเคล (Kale: 8 มก. / 100 กรัม) ผักเคลจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกคะน้า นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งสำคัญของลูทีน (Lutein) และ Zeaxanthin ที่พบได้ในเรตินาและช่วยเรื่องสายตา
◼ แหล่งอาหารอื่นที่มีสารเควอซิทินสูง
เคเปอร์ (Capers: 365 มก. / 100 กรัม) เคเปอร์เป็นตาของดอกไม้พุ่มที่ขึ้นแถบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นแหล่งอาหารที่มีสารเควอซิทินต่อกรัมมากที่สุด นิยมใส่ในสลัดผักและปลาแซลมอน เคเปอร์ถือได้ว่าเป็นพวก ซุปเปอร์ฟู๊ด ที่น่าสนใจตัวหนึ่ง
ผักชีลาว (Dill: 55 มก. / 100 กรัม) เป็นสมุนไพรที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง นิยมใช้ปรุงใส่อาหารหลายอย่าง
บัควีท (Buckwheat: 36 มก. / 100 กรัม) เป็นธัญพืชชนิดหนึ่ง ถือเป็นอาหารยอดฮิตในหมู่คนรักสุขภาพ เพราะประกอบไปด้วยแร่ธาตุและสารต้านอนุมูลอิสระหลากชนิด หลายคนจึงเชื่อว่าการรับประทานบักวีทช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดระดับคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต หรือลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้.
ชาเขียว (Green tea: 2.63 มก. / 100 กรัม) ในชาเขียวมีสารสำคัญคือ EGCG ซึ่งจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และกลูโคสได้ดี และมีประโยชน์หลายอย่างต่อสุขภาพ ทั้งช่วยในเรื่องของสมองและเส้นประสาท มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่สูงมาก ถือได้ว่าเป็นสมุนไพรที่ไม่ควรพลาด
พลูคาว (Houttuynia cordata: 260 มก. / 100 กรัม) เป็นสมุนไพรท้องถิ่นในแถบทวีปเอเชีย นิยมนำมาทำเป็นยาสมุนไพร มีสรรพคุณในการรักษาโรคได้หลายอย่าง สายพันธุ์ ก้านม่วง แพร่ จะมีปริมาณสารเควอซิทินอยู่มากที่สุด
◾ ควรจะบริโภคเควอซิทินวันละกี่ มก.?
โดยเฉลี่ย ในอาหารของคนอเมริกาที่กินในแต่ละวัน จะมีสารเควอซิทินอยู่ประมาณ 6 - 18 มก. การเลือกรับประทานอาหารที่มีสารเควอซิทินสูงจะช่วยให้เราได้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากคุณสมบัติที่โดดเด่นของเควอซิทิน
ผู้สนใจ สอบถามรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่ ...
⫸ Tel. 082-777-4461, 092-247-7006
⫸ Line ID: baramilab หรือ sale.04
◼ อ้างอิง
https://longevity.technology/lifestyle/8-foods-with-highest-concentration-of-quercetin/
https://www.doa.go.th/plan/wp-content/uploads/2021/05/184-การเปรียบเทียบพันธุ์พลูคาว.pdf
Chakrawarti, L et al. "Therapeutic effects of EGCG: a patent review," Expert opinion on therapeutic patents, August 2016, https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27338088
Coyle, D. "Sulforaphane: Benefits, Side Effects, and Food Sources," Healthline, February 2019, https://www.healthline.com/nutrition/sulforaphane
Heinz, S et al. "Quercetin supplementation and upper respiratory tract infection: A randomized community clinical trial," Pharmacological research, May 2010, https://www.ncbi.nlm.nih.gov/labs/pmc/articles/PMC7128946/
Husam Dabbagh-Bazarbachi et al. "Zinc Ionophore Activity of Quercetin and Epigallocatechin-gallate: From Hepa 1-6 Cells to a Liposome Model." Journal of Agricultural and Food Chemistry, July 2014, https://pubs.acs.org/doi/abs/10.1021/jf5014633
Kirkland, JL, and T Tchkonia. "Senolytic drugs: from discovery to translation." Journal of internal medicine, August 2020, https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7405395/
Kokotou, MG et al. "High resolution mass spectrometry studies of sulforaphane and indole-3-carbinol in broccoli." Food chemistry, December 2017, https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28764036/
Ostadmohammadi, V et al. "Effects of quercetin supplementation on glycemic control among patients with metabolic syndrome and related disorders: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials," Phytotherapy research, May 2019, https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30848564/
Serban, MC et al. "Effects of Quercetin on Blood Pressure: A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials" Journal of the American Heart Association, July 2016, https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/27405810/
Walsh, RP et al. "Variation in Carotenoid Content of Kale and Other Vegetables: A Review of Pre- and Post-harvest Effects," Journal of agricultural and food chemistry, November 2015, https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26477753/
"Phenol-Explorer." http://phenol-explorer.eu/
"Vitamin C – Summary," Linus Pauling Institute. https://lpi.oregonstate.edu/mic/vitamins/vitamin-C
#drbunlue #NMP #NMN #NAD #ChapaGroupAndMadePhuwiang #ย้อนวัยไปกับ_drbunlue #Quercetin
Comments