ก่อนจะรู้จักกับอายุชีวภาพ เรามาทำความรู้จักกับอายุที่พวกเราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีกัน นับจากวันที่เราเกิดจนถึงเวลาปัจจุบัน ซึ่งก็จะเทียบเคียงได้กับจำนวนแท่งเทียนที่เราเป่าเค๊กกันในวันเกิดนั่นเอง มันช่วยบอกเราว่าร่างกายของเราได้เสื่อมสภาพไปตามเวลาที่มากขึ้นและเข้าใกล้ช่วงเวลาตายขึ้นด้วย
สรุปง่ายๆ ก็คือ
อายุตามวัย หรือ อายุจริง (Chronological Age) ก็คือ ช่วงต่างของเวลาที่เราเกิดจนถึงเวลาที่เรามีชีวิตอยู่นั่นเอง เป็นการคำนวณตัวเลขแบบตรงไปตรงมา และทางการแพทย์ก็ใช้ตัวเลขนี้ในการประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคที่มากับอายุ รวมไปถึงมะเร็งด้วย
อายุชีวภาพ (Biological Age) เป็นอายุของร่างกายที่บ่งบอกถึงผลรวมของทางสรีระและร่างกายที่แสดงออกในปีนั้นๆ ซึ่งสะท้อนไปถึง ปัจจัยทางพันธุกรรม ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น สภาพทางภูมิศาสตร์ อาหาร และการออกกำลังกาย
แนวทางปฏิบัติทางการแพทย์แบบเดิม จะไม่นิยมคาดการณ์ความเสี่ยงของโรคในกลุ่มประชากรที่ยังไม่มีอาการเกิดขึ้น และจะให้การรักษาก็ต่อเมื่อมีอาการเกิดขึ้นมาแล้ว การหาอายุชีวภาพจะช่วยให้เรารู้ว่าใครแก่เร็วหรือช้า ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ดีและจะช่วยให้เข้าใจว่าใครที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคก่อนที่มันจะเกิดขึ้นจริง
สำหรับทางการแพทย์ชะลอวัย ได้มีมุมมองใหม่เมื่อพูดถึงเรื่อง อายุ ตัวอย่าง เช่น คนอายุ 65 ปีอาจจะมีสุขภาพไม่เหมือนกับคนอื่นในวัยเดียวกัน ซึ่งคนอื่นอาจจะดูกระฉับกระเฉงเหมือนคนในวัย 30 ปี, 40 ปี, 50 ปี หรืออาจจะเฉื่อยเหมือนคนอายุ 75 ปีก็ได้ เราจะเห็นว่ามีความแตกต่างของสุขภาพในหลายระดับ และเพื่อที่จะเข้าใจมากขึ้นถึงความแตกต่างของสุขภาพในแต่ละคนที่มีอายุจริงตามวัยที่เหมือนกัน เราจึงต้องเริ่มต้นเข้าใจเรื่องอายุชีวภาพกัน
ปัจจุบัน มีบริษัท startup หลายแห่งในตลาด ที่อ้างว่า มีบริการตรวจเลือด ปัสสาวะ หรือเซลล์ที่กระพุ้งแก้ม ก็สามารถบอก อายุชีวภาพได้ ที่บ่งชี้ถึงความเร็วของเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ที่ทำงานช้าลง และมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับสุขภาพของคนนั้นๆ ตัวอย่างเช่น
Tally Health - บริษัท startup ที่มี ดร.เดวิด ซินแคลร์ ร่วมก่อตั้ง ก็ใช้วิธีการป้ายเซลล์จากกระพุ้งแก้ม แล้วส่งไปที่ห้องแลบทางไปรษณีย์ และจากนั้นก็จะส่งผลตรวจหา อายุชีวภาพ กลับคืนมาให้ และถ้าผลออกมาว่า อายุชีวภาพของคุณแก่กว่าคนในกลุ่มอายุเดียวกัน ก็จะนำเสนอแนวทางรักษาเพื่อให้อายุขีวภาพเท่ากับในกลุ่มเดียวกัน เป็นต้น
อายุชีวภาพเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยสรุปถึงความแตกต่างด้านสุขภาพในแต่ละคน
Comments