ในปี 2003 คนทั่วโลกส่วนใหญ่ได้รู้จักกันว่า ในไวน์แดงมีเรสเวอราทรอล ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีศักยภาพสูงต่อสุขภาพและอายุยืน! ทำให้เกิดกระแสคนทั่วโลกจึงนิยมดื่มไวน์แดงกัน ตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์และสถาบันวิจัยชั้นนําของโลก กําลังศึกษาสารที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับเรสเวอราทรอล อย่างจริงจัง นั่นก็คือ Pterostilbene (เทอรโรสติลบีน) ซึ่งเป็นกลุ่มโพลีฟีนอลตัวใหม่ ที่มีศักยภาพและมีการดูดซึมได้มากขึ้น
Pterostilbene คืออะไร?
Pterostilbene เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีประสิทธิภาพ เป็นสารโพลีฟีนอลชนิดหนึ่ง ที่จัดอยู่ในกลุ่ม Stilbene ซึ่งนักวิจัยหลายคนเชื่อว่า เป็นเครื่องมือสําคัญตัวหนึ่งที่จะใช้ในการต่อสู้กับความชราและความเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับอายุ
ตอนนี้ทั่วโลกกำลังสนใจทำการวิจัยอย่างกว้างขวาง ถึงศักยภาพในรักษาความแก่ชรา โดยช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์และโรค
Pterostilbene พบได้มากในผลไม้ ได้แก่ บลูเบอร์รี่, แครนเบอร์รี่ และ แก้วมังกร
Pterostilbene อาจคล้ายกับ resveratrol ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชเช่นกัน เช่น องุ่นที่ให้ไวน์แดง มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเชื่อกันว่า มีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่สารทั้ง 2 ตัว ก็มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญ เมื่อเปรียบเทียบ pterostilbene กับ resveratrol และโพลีฟีนอลอื่นๆ ได้แก่ :
มีหลักฐานชี้ให้เห็นว่า pterostilbene สามารถดูดซึมได้มากกว่า resveratrol ถึง 4 เท่า
มีบางงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า pterostilbene อาจให้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่า resveratrol
เรื่องนี้คงต้องรองานวิจัยอื่นๆ มาสนับสนุนอีกสักระยะ
ประโยชน์ สรรพคุณและความเสี่ยง
Pterostilbene กำลังอยู่ในระดับแนวหน้าของการทำวิจัยและการกินเพื่อช่วยชะลอวัย แม้ว่าตอนนี้อาจจะฟังดูน่าตื่นเต้น แต่สิ่งสําคัญคือต้องชั่งน้ำหนักเรื่องคุณประโยชน์และโทษ ที่อาจเกิดขึ้นก่อนใช้งาน เช่นเดียวกับอาหารเสริม หรือยา
คุณประโยชน์ต่อสุขภาพและผลลัพธ์ต่อไปนี้ ได้จากการสังเกตในการทำวิจัยในมนุษย์ สัตว์และในเซลล์:
มีการดูดซึมสูง
ช่วยเรื่องลดน้ำหนัก
ป้องกันความเสียหายจากอนุมูลอิสระ
ช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลิน
ส่งเสริมจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้
ช่วยเรื่องอารมณ์และความจำ
ส่งเสริมการป้องกันระบบประสาท
ลดความเครียดออกซิเดชัน ที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์
ช่วยการทำงานของหัวใจและตับ
ลดการอักเสบ
ความเสี่ยงของ Pterostilbene
ยังมีการศึกษาและทำวิจัยในคนค่อนข้างน้อย เพื่อตอบหลายคำถามที่ยังสงสัยกัน
อาจจะทำให้ ไขมันเลว LDL สูงขึ้นได้
ทำปฏิกิริยากับ SSRIs และยาเคมีบําบัดบางชนิด
กลไกการออกฤทธิ์
เชื่อว่า Pterostilbene มีกลไกการออกฤทธิ์ 3 เรื่อง คือ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ, กระตุ้น sirtuin และ ต้านการอักเสบ ----- มีการศึกษาวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า คุณสมบัติด้านต้านอนุมูลอิสระ, ต้านการอักเสบ (*) และ ต้านเซลล์มะเร็ง (Anti-carcinogenic) ของ pterostilbene จะช่วยให้เซลล์ทำงานได้ดีขึ้น และยับยั้งมะเร็งได้ด้วย (*) (*) (*)
#1 ต้านอนุมูลอิสระ
การทำงานต่างๆ ภายในเซลล์ จะทำให้เกิดของเสียขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือ อนุมูลอิสระ และสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยกำจัดอนุมูลอิสระนี้ ก่อนที่มันจะก่อให้เกิดอันตรายกับเซลล์
Pterostilbene เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีศักยภาพสูง จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า มีการส่งสัญญาณการผลิตสาร superoxide dismutase 1 (SOD1) และ peroxiredoxin-4 (PRDX4) ซึ่งสารทั้งสองตัวนี้จะจับกับอนุมูลอิสระ เพื่อป้องกันความเสียหายของเซลล์ (*)
#2 กระตุ้นเซอร์ทูอิน (Sirtuin activator)
Sirtuins เป็นโปรตีนที่ดูแลควบคุมการเผาผลาญในรางกาย เมื่อเร็วๆ นี้นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านอายุยืนได้ยืนยันว่า sirtuins เป็นเส้นทางสำคัญในการกระตุ้นให้มีการส่งสัญญานไปทั่วเซลล์และร่างกาย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จะมี sirtuin อย่างน้อย 7 ชนิด ที่ช่วยควบคุมทุกอย่างตั้งแต่การเผาผลาญไปจนถึงการซ่อมแซมเซลล์
เป็นที่ทราบกันดีว่า Pterostilbene เป็นตัวกระตุ้น SIRT1 (*) การกระตุ้น SIRT1 ทําให้เกิดการแสดงออกของโปรตีน p53 เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยปกป้อง DNA และป้องกันมะเร็งได้
#3 ต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory)
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การอักเสบเรื้อรังทั่วร่างกาย จะนําไปสู่การเจ็บป่วยและโรคต่างๆ ดังนั้นการรักษาที่ช่วยลดการอักเสบ จึงมีความสําคัญต่อการแก่ชราอย่างมาก
Pterostilbene มีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่มีประสิทธิภาพมากและสามารถยับยั้ง NF-Kb (ที่เป็นโปรตีนที่มีความซับซ้อนซึ่งควบคุมการถอดรหัส DNA), ยับยั้งการผลิตไซโตไคน์และการอยู่รอดของเซลล์ (*) จากการศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่า pterostilbene สามารถรักษาตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันรุนแรงโดยการลดระดับซีรั่มของการอักเสบ TNF-alpha, IL-1b และ NF-kB และลดการสร้าง ROS
ยังมีข้อมูลบางอย่างที่ชี้ให้เห็นว่า Pterostilbene อาจจะมีประโยชน์ในการรักษาโรคข้ออักเสบจากคุณสมบัติต้านการอักเสบ มีการวิจัยค่อนข้างจำกัดเกี่ยวกับโรคข้ออักเสบ, จากการศึกษาในหนูทดลองทำให้เห็นศักยภาพทางด้านนี้ (*)
อาหารที่มี Pterostilbene สูง
เกิดขึ้นตามธรรมชาติ พบในถั่ว, ผลเบอร์รี่ และพืชบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง:
ถั่ว เช่น อัลมอนด์ และถั่วลิสง
ตระกูลเบอร์รี่ เช่น blueberries, cranberries, bilberries, lingonberries,และ huckleberries
องุ่น ที่ใบและเถาวัลย์
ยางต้นไม้เขตร้อน ที่รู้จักกันดีคือ สารสกัดจากต้นเลือดมังกร (Dragon’s Blood Extract)
การกินอาหารที่อุดมด้วย pterostilbene เช่น ถั่ว ผลเบอร์รี่ และใบองุ่น จะมีผลดีต่อสุขภาพตราบใดที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ อย่างไรก็ตาม แหล่งอาหารธรรมชาติเพียงอย่างเดียวไม่น่าจะให้ประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งหมดได้
อาหารเสริม Pterostilbene
การรับประทานอาหารเสริม pterostilbene เป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างเต็มที่ แต่การเลือกผู้ผลิตที่มีความรู้เรื่องสารชะลอวัย และโรงงานที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้โดยตรง เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมาก เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพสูง และเป็นที่ต้องการของลูกค้าในระยะยาว ดังนั้นอาหารเสริมจึงต้องมีคุณสมบัติดังนี้
มีปริมาณความเข้มข้นของสาร pterostilbene ที่เหมาะสม
งานต่อการบริโภคให้ได้ขนาดที่ต้องการทุกวัน
ได้รับประโยชน์จากคุณสมบัติของ pterostilbene อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องหาจากแหล่งอื่นเพิ่ม
ดังนั้น การกินอาหารเสริม pterostilbene จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ และอาหารเสริมที่มีคุณภาพ จะพบได้จากผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงและประสบการณ์โดยตรง (ไม่ใช่ว่าใครก็ทำได้) เท่านั้น
สุดท้ายที่ต้องเน้นย้ำก็คือ แหล่งอาหารที่จะมีสาร pterostilbene ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว การจะให้ได้ปริมาณสารตามที่ต้องการ จะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากที่จะได้จากแหล่งอาหารเพียงอย่างเดียว
ตัวอย่างเช่น ผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่ที่มีสาร pterostilbene มากที่สุดคือ บลูเบอร์รี่ เฉลี่ยแล้วจะมี pterostilbene ประมาณ 0.18 มก. ต่อบลูเบอร์รี่ 300 กรัม (*) (*) ดังนั้นการจะกินบลูเบอร์รี่เพื่อให้ได้สาร pterostilbene 50-100 มก. จะต้องกินบลูเบอร์รี่มากกว่า 83,200-166,400 กรัมทุกวัน
ขนาดที่แนะนำ
การทำวิจัย Pterostilbene ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ในเวลานี้ยังไม่มีปริมาณที่แนะนําอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม, เป็นที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่า 250 มก. ต่อวันมีความปลอดภัยสําหรับการบริโภคในคนทั่วไป
ปริมาณอาจจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับส่วนผสมของอาหารเสริม สูตรที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่
Pterostilbene (อย่างเดียว): 100-200 มก./วัน
Pterostilbene 50 มก./วัน และสารสกัดขององุ่น (Grape Extract) 100 มก./วัน
NMN 250 - 500 มก./วัน และ pterostilbene 100 มก./วัน
อาการข้างเคียงของ Pterostilbene
Pterostilbene ถือว่าปลอดภัยและไม่มีรายงานผลข้างเคียงจากการรับประทานในขนาด 250 มก. ต่อวัน อย่างไรก็ตาม บางคนอาจจะพบว่า ระดับคอเลสเตอรอลชนิด LDL เพิ่มขึ้นได้
การศึกษาผลของ pterostilbene ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับเรสเวอราทรอล และอาจจะมีปฏิกิริยากับยาบางชนิดได้ ซึ่งคงต้องศึกษากันต่อไป แต่เพื่อความปลอดภัย แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนซื้อมาใช้
#drbunlue #NMP #NMN #NAD #ChapaGroupAndMadePhuwiang #ย้อนวัยไปกับ_drbunlue #antiaging #ชะลอวัย #สุขภาพดี #tiktokสุขภาพ #ลืมป่วย #healthy #healthycare #healthyfood #ดูแลสุขภาพ #Polyphenol #Pterostilbene
Comments