โดยทั่วไปคุณภาพในการนอนหลับจะค่อยๆ ลดลงตามอายุ เวลานอนหลับในช่วงฝัน (Dreaming state จะมีการกลอกลูกตาไปมา – Rapid Eye Movement: REM) และระยะหลับลึกจะค่อยๆ ลดลงตามอายุที่มากขึ้น และพบว่าระยะหลับลึกที่สุด (The deepest state) จะหายไปหลังอายุ 60 ปี
การนอนหลับจะมีผลต่อระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ความจำ และกระบวนการเผาผลาญของร่างกาย ดังนั้นคุณภาพการนอนที่ลดลงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ที่สัมพันธ์กับวัย ตามมาได้ ถึงแม้ว่าการให้ยาช่วยการนอนหลับ อาจจะช่วยบรรเทาอาการลงได้ แต่ก็มักจะมีปัญหากับอาการข้างเคียงตามมา เช่น ง่วงซึมในช่วงกลางวัน เป็นต้น
งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน American Journal of Translational Medicine ซึ่งทำโดย ดร.ซางและคณะจาก University of Science and Technology ประเทศจีน ได้ทำการประเมิน การกิน NMN จะช่วยการนอนหลับได้ โดยใช้แบบสอบถาม ชนิด PSQI (Pittsburgh Sleep Quality Index) คณะวิจัยยังพบด้วยว่า NMN ช่วยลดเวลาในการนอนได้อย่างชัดเจน จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากเครื่องวัดที่ข้อมือ (Huawei Band 6) พบว่า NMN จะเพิ่มเวลานอนในระยะ REM และระยะหลับลึก
ดร.ซางและคณะได้ทำการวิจัยโดยใช้คนอายุในช่วง 45 – 75 ปี เพื่อดูว่า NMN จะช่วยเรื่องคุณภาพการนอนหลับได้หรือไม่ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 29 คน กลุ่มแรกได้กิน NMN และอีกกลุ่มได้ยาหลอก (Placebo) กินต่อเนื่อง
หลังจากครบ 12 สัปดาห์แล้ว ก็ได้รับแบบสอบถาม PSQI กลับมาเกี่ยวกับการนอนและแง่มุมอื่นๆ เช่น การเดินหรือหยุดพักไม่ได้เวลากลางคืน ที่น่าสนใจคือ คนในวัยกลางคนและผู้สูงอายุที่ได้รับ NMN จะได้คะแนนจากการประเมินดีกว่าอีกกลุ่มที่ไม่ได้รับ NMN นอกเหนือจากคะแนน PSQI แล้ว เวลาที่เริ่มจะหลับ (sleep latency) ก็ดีขึ้นในกลุ่มที่ได้รับ NMN
กลุ่มที่ได้รับ NMN มีค่า PSQI ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ NMN ซึ่งบ่งชี้ว่า หลับได้ดีกว่า และเวลาที่เริ่มจะหลับ (Sleep Latency) ก็มีค่าน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ NMN
เพื่อเป็นการยืนยันข้อมูลจาก PSQI, ทางทีมวิจัยได้เปลี่ยนไปวิเคราะห์คุณภาพการนอนหลับจากเครื่องวัดที่ข้อมือ (Huawei Band 6) พบว่ากลุ่มที่ได้รับ NMN มีค่าการนอนหลับช่วง หลับลึก (Deep sleep) และ REM sleep นานขึ้น ซึ่งข้อมูลนี้ช่วยสนับสนุนและไปทางเดียวกับค่า PSQI ที่บ่งชี้ว่า NMN ช่วยการนอนหลับได้ในคนวัยกลางคนและผู้สูงอายุ
คนที่ได้รับ NMN (สีแดง) จะมีค่าสัดส่วนการหลับลึก (ratio of deep sleep) สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ NMN (สีดำ)
การเพิ่ม NAD+ อาจจะช่วยฟื้นฟูวงจรการหลับ-ตื่น (Sleep-Wake Cycle – Circadian Rhythm)
จากการวิจัยเรื่อง เซอร์ทูอีนมีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมวงจรการหลับ-ตื่น (Sleep-wake Cycle) และจากข้อมูลที่ว่า เซอร์ทูอีน ต้องใช้ NAD+ ในการทำงาน, ระดับ NAD+ ที่ผันผวนจะส่งผลไม่ดีต่อ Circadian rhythm ซึ่งไปรบกวนการนอนหลับได้ ... จากประเด็นนี้ก็พออธิบายได้ว่าทำไม การเพิ่ม NAD+ (จากการกิน NMN) ในผู้สูงวัยจึงช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น
NOTE:-
NAD+ ช่วยให้การเผาผลาญพลังงานของเซลล์ดีขึ้น ทำให้มีพลังงานเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้ร่างกายเกิดความตื่นตัว และไม่ง่วงนอนก็ได้ ดังนั้นแนะนำการกิน NMN ในช่วงก่อนนอน อาจจะมีปัญหาเรื่องการนอนหลับได้
======================
อ้างอิง:-
Comments