เซลล์ไขมันสีน้ำตาล (brown adipocytes) เป็นเซลล์ที่มีความสามารถในการผลิตความร้อนจากการเผาผลาญพลังงาน โดยใช้โปรตีนที่เรียกว่า uncoupling protein 1 (UCP1) ที่ช่วยให้เปลี่ยนจากการผลิตพลังงานในรูป ATP (เป็นพลังงานหลักที่ถูกนำไปใช้โดยเซลล์ทั่วร่างกาย) มาเป็นความร้อนแทน นอกจากนี้เซลล์ไขมันสีน้ำตาลจะมีปริมาณไมโตคอนเดรียที่มาก จึงช่วยในการเผาผลาญพลังงานได้ดี
NAD+ เป็นสารที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตพลังงานของเซลล์โดยการกระตุ้นให้สร้างไมโตคอนเดรียมากขึ้นและยังกระตุ้นการทำงานด้วย ทำให้มีการเผาผลาญพลังงานได้มากขึ้น
จากการศึกษาในหนูพบว่า NAD+ ยังสามารถกระตุ้นการผลิต UCP1 และการเผาผลาญพลังงานของไขมันสีน้ำตาลได้ โดยผ่านการกระตุ้นของสารหลายชนิด เช่น SIRT1, PGC-1α, PPARα, PPARγ, PRDM16, C/EBPβ, และ PPARδ เป็นต้น
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะพบว่า ไขมันสีน้ำตาล เป็นเนื้อเยื่อที่มีความหลากหลายและมีความสำคัญในการควบคุมการเผาผลาญพลังงานและอุณหภูมิร่างกาย และ NAD+ เป็นสารที่ส่งผลต่อการทำงานของไขมันสีน้ำตาล โดย NAD+ จะกระตุ้นการผลิต UCP1 และการผลิตความร้อน
ดังนั้น การเพิ่มปริมาณ NAD+ ในเซลล์ไขมันสีน้ำตาล อาจเป็นวิธีหนึ่งในการป้องกันและรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอ้วนได้
นอกจากนี้ เรายังสามารถกระตุ้นให้เกิดไขมันสีน้ำตาลได้หลายวิธี ดังนี้
การรับประทานอาหาร: เช่น capsaicin (พริก), n-3 polyunsaturated fatty acids (ปลาทะเล, ถั่ว, ธัญพืช, คะน้า กะหล่ำปลี เป็นต้น), การจำกัดแคลอรี่ (calorie restriction), การอดอาหารเป็นระยะ (intermittent fasting)
การออกกำลังกาย: ส่งผลให้มีการเพิ่มระดับของสารบางชนิด ที่สามารถกระตุ้นการผลิต UCP1 และการเผาผลาญพลังงานของไขมันสีน้ำตาลได้
ฮอร์โมน: ฮอร์โมนบางชนิด เช่น melatonin, thyroid hormones, leptin, insulin, glucagon, estrogen, testosterone, สามารถกระตุ้นหรือยับยั้งการทำงานของไขมันสีน้ำตาลได้
ไมโครไบโอต้า (microbiota) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้ มีผลต่อการทำงานของไขมันสีน้ำตาล ผ่านทางน้ำดี
ผู้สนใจ สอบถามรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่ ...
⫸ Tel. 082-777-4461, 092-247-7006
⫸ Line ID: baramilab หรือ sale.04
#drbunlue #NMP #NMN #NAD #ChapaGroupAndMadePhuwiang #CaloricRestriction #IntermittenFasting #UCP1 #BrownAdiposeTissue #WhiteAdiposeTissue
Comments