เมื่อเราอายุมากขึ้น เซลล์ของร่างกายส่วนใหญ่จะเริ่มเสื่อมสภาพตามอายุที่มากขึ้น ทำให้มีเซลล์เสื่อมสภาพสะสมอยู่มากในร่างกาย และเซลล์ที่เสื่อมนี้จะเร่งกระบวนการแก่ชราและเกิดโรคต่างๆ ตามมา
ดังนั้นนักวิจัยจึงได้มุ่งไปยังการกำจัดเซลล์ที่เสื่อมสภาพนี้ เพื่อเปิดพื้นที่ให้เซลล์ใหม่เติบโตเข้ามาแทนที่ ซึ่งจะช่วยให้อวัยวะต่างๆ ทำงานดีขึ้น และอายุยืนยาวขึ้น งานวิจัยนี้จึงพยายามศึกษาเพื่อหาสารกลุ่ม Senolytic หรือ ยา ที่จะใช้กำจัดเซลล์ที่เสื่อมสภาพนี้
หนึ่งในสารที่ได้รับความสนใจและนำมาศึกษาก็คือ EGCG (epigallocatechin gallate) ซึ่งเป็นสารโพลีฟีนอลที่พบได้มากที่สุดใน ชาเขียว งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ใน The Journal of Nutritional Biochemistry โดย Sharma และคณะ จาก Academy of Scientific and Innovative Research ใน Palampur, India ที่พบว่า EGCG (1*) มีคุณสมบัติของสาร Senolytic ซึ่งช่วยชะลอวัย เพิ่มอายุขัยและต่อสู้กับเซลล์ที่เสื่อมสภาพ นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมวัฒนธรรมที่มีทำให้คนมีอายุยืนยาวที่สุดในโลก มักจะดื่มชาเขียวเป็นประจำ
ด้วยปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระที่สูงในชาเขียว ทำให้สามารถป้องกันความเสียหายของร่างกาย จากสภาวะเครียดของอนุมูลอิสระได้
จากงานวิจัยก่อนหน้านี้พบว่า EGCG สามารถเพิ่มอายุขัยในหนูและทำให้สุขภาพของหนูดีขึ้นได้นานหลายปีโดยไม่มีโรคเกิดขึ้น (2*) สำหรับงานวิจัยที่ทำโดย Sharma และคณะ ที่ศึกษาการเสื่อมสภาพของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ของหนู โดยเน้นไปที่ เซลล์ไขมัน, ลำไส้ และระบบภูมิต้านทาน
EGCG ช่วยชะลอวัยและกำจัดเซลล์ที่เสื่อมสภาพ
การศึกษาต้องการดูผลของ EGCG ในหนู ที่ช่วงอายุ 6, 10, 14 และ 18 เดือน ซึ่งเทียบได้กับอายุคนในวัย 30 ปี ถึง 60 ปี มีการค้นพบที่น่าสนใจคือ...
EGCG จะช่วยชะลอวัย ยืดอายุขัยของหนู และลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตต่ำกว่าหนูที่ไม่ได้รับ EGCG ถึง 46%
นักวิจัยคาดการณ์ว่า อัตราการรอดชีวิตที่ดีขึ้นนี้ น่าจะเกิดจากคุณสมบัติ senolytic ของ EGCG ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวชี้วัดความเสื่อมสภาพ (Senescence Marker) พวกเขาพบว่าอัตราการเสื่อมสภาพของเซลล์ขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อเยื่อ โดยเนื้อเยื่อไขมันและลําไส้จะมีผลมากที่สุด
เมื่อเทียบกับหนูอายุน้อยแล้ว หนูแก่จะมีการสะสมของ DNA ที่เสียหายมากและตัวชี้วัดความเสื่อมสภาพในเนื้อเยื่อไขมันและลำไส้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การบริโภค EGCG จะไปลดความเสียหายนี้ได้
อัตราการเสื่อมสภาพของเซลล์และความเสียหายของ DNA จะไม่สอดคล้องกับช่วงอายุขัย แต่จะมีการสะสมของ Senescence marker ที่เร่งสูงขึ้นเร็วในช่วงอายุหนู 14 - 18 เดือน (เทียบกับคน 50 - 60 ปี)
เซลล์ที่เสื่อมสภาพจะเร่งกระบวนการแก่ชราผ่านทางสาร SASP (senescence-associated secretory phenotype) ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เซลล์ข้างเคียงเกิดการอักเสบและถูกทำลายในที่สุด จากการวิจัยนี้ พบว่าค่า SASP ที่ตรวจเจอ มีความแตกต่างกันมากที่สุดในเซลล์ไขมัน และจะลดน้อยลงเมื่อได้รับ EGCG
นอกจากนี้ ชาร์มาและคณะ ยังพบว่า EGCG ช่วยลดการอักเสบของภูมิคุ้มกัน ที่เกี่ยวข้องกับอายุและเพิ่มการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน และ EGCG ยังส่งเสริม autophagy ในหนูสูงวัย ซึ่งเป็นการกําจัดของเสียภายในเซลล์ หรือเซลล์ที่ทำงานบกพร่อง เป็นการเปิดพื้นที่ให้กับเซลล์ที่จะเกิดใหม่
สุดท้ายการบริโภค EGCG อย่างสม่ำเสมอ ช่วยเพิ่มความหลากหลายของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในลําไส้ การลดความหลากหลายของเชื้อจุลินทรีย์ในลําไส้เป็นเรื่องปกติตามอายุและสามารถนําไปสู่ความผิดปกติของลําไส้ในผู้สูงอายุได้ นอกจากนี้ การเสียสมดุลย์ของเชื้อจุลินทรีย์ในลําไส้ (3*) ยังเชื่อมโยงโดยตรงกับการเหนี่ยวนําของเซลล์ที่เสื่อมสภาพ
งานวิจัยนี้เป็นครั้งแรกที่ทำการทดสอบผลของ EGCG ต่อเซลล์ที่เสื่อมสภาพในสัตว์ ที่แสดงให้เห็นว่า สารสกัดชาเขียวช่วยเพิ่มอายุขัยและสุขภาพที่ดีให้กับหนูทดลองได้ผลดีมากด้วยการต่อสู้กับเซลล์ที่เสื่อมสภาพ ชาร์มาและคณะ ยังได้แสดงหลักฐานว่า เซลล์ไขมันเป็นจุดที่มีความเสี่ยงสูงต่อความเสียหายของ DNA ที่เกี่ยวข้องกับอายุและเซลล์ที่เสื่อมสภาพ
การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การกำจัดเซลล์ที่เสื่อมสภาพจะทำให้ลดความผิดปกติที่เกิดจากน้ำหนักที่มากเกิน การวิจัยนี้จึงชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่อันตรายของเซลล์ไขมันที่เสื่อมสภาพ
ดังที่ชาร์มาและคณะ ได้สรุปไว้ในบทความของพวกเขาว่า "มีเหตุผลที่จะยืนยันว่า การบริโภค EGCG อย่างต่อเนื่อง มีศักยภาพในการต่อต้านทั้งเซลล์ที่เสื่อมสภาพและลด SASP ลง ดังนั้น EGCG จึงเป็นตัวเลือกที่โดดเด่นในการพัฒนาแนวทางในการต่อต้านเซลล์ที่เสื่อมสภาพ"
ผู้สนใจ สอบถามรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่ ...
⫸ Tel. 082-777-4461, 092-247-7006
⫸ Line ID: baramilab หรือ sale.04
อ้างอิง
#drbunlue #NMP #NMN #NAD #ChapaGroupAndMadePhuwiang #ย้อนวัยไปกับ_drbunlue #EGCG #Catechin #MatchaGreenTea #ชะลอวัย #เซลล์เสื่อมสภาพ
Comentários