EGCG สารสกัดที่พบมากในชาเขียว โดยเฉพาะมัทฉะ มีฤทธิ์ยับยั้งการเติบโตและการแพร่กระจายของมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ผล จากการวิจัยพบว่า ฤทธิ์การยับยั้งขึ้นกับความเข้มข้นและ EGCG และระยะเวลา
ชาเขียวเป็นเครื่องดื่มที่กำลังได้รับความนิยมกันทั่วโลก และพบว่ามีสารสกัดสำคัญคือ EGCG ซึ่งเป็น polyphenol ที่พบมากที่สุด การศึกษานี้ต้องการดูผลของ EGCG ในการยับยั้งการเติบโตและการแพร่กระจายของมะเร็งลำไส้ใหญ่ ชนิด SW480, SW620, และ LS411N
การวิจัยทำในหลอดทดลอง เพื่อทดสอบผลของ EGCG ในการยับยั้งการเติบโตและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่
EGCG ยับยั้งมะเร็งลำไส้ใหญ่ ชนิด SW480-, SW620-, และ LS411N
การรักษาด้วย EGCG เป็นเวลา 24 ชม. พบว่า ฤทธิ์การยับยั้งมะเร็งขึ้นกับความเข้มข้นของสาร EGCG
ตามรูปกราฟ 1 ที่แสดงให้เห็นว่า EGCG สามารถยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง สายพันธุ์ SW480 ที่ความเข้มข้น 74.6 μg/mL, สายพันธุ์ SW620 ที่ 99.4 μg/mL และสายพันธุ์ LS411N ที่ 112.1 μg/mL และพบว่า สายพันธุ์ SW480 มีตอบสนองต่อการรักษาด้วย EGCG ดีที่สุด
EGCG กระตุ้นให้เกิด Apoptosis
จากการย้อมสีด้วย Annexin V-FITC/PI แสดงให้เห็นว่า เซลล์มะเร็ง SW480, SW620, และ LS411N ที่เลี้ยงด้วย EGCG สูงจาก 0ถึง 200 μg/mL จะเห็นว่าอัตราการเกิด apoptosis จะเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของ EGCG ตามรูป A
อัตราการเกิด apoptosis ในเซลล์ที่ EGCG ความเข้มข้นที่ 0, 25, 50 และ 100 μg/mL หลังจากเลี้ยงในหลอดทดลอง 24 ชม. ตามรูป B พบว่า EGCG สามารถกระตุ้นการเกิด apoptosis ในเซลล์ SW620 และ LS411N ได้ดีกว่าตามความเข้มข้นของสาร EGCG เมื่อเทียบกับตัวควบคุม (ไม่มีสาร EGCG)
EGCG จะขัดขวางการทำงานของผนังไมโตคอนเดรีย
เมื่อได้รับการรักษาด้วย EGCG พบว่า เปอร์เซ็นต์ของเซลล์ SW480 จะมีระดับ JC-1 (เทคนิคการย้อมเพื่อดูการทำงานของผนังไมโตคอนเดรีย) จะค่อยๆ เข้มขึ้นตามลำดับจาก 10.59%, 15.76%, และ 25.04%, ที่ความเข้มข้นสาร EGCG 25, 50, และ 100 µg/mL ตามลำดับ
ผลลัพธ์นี้สอดคล้องกับการแพร่กระจายของเซลล์ลำไส้ใหญ่ ชนิด SW620 และ LS411N โดย EGCG จะไปขัดขวางการทำงานของผนังไมโตคอนเดรียในเซลล์ SW620 และ LS411N ทำให้ระดับสี JC-1 เข้มขึ้นจาก 17.74%, 21.3% และ 37.13% ในเซลล์ SW620 และ 27.85%, 39.3% และ 40.33% ในเซลล์ LS411N ที EGCG ความเข้มข้น 50, 100 และ 200 μg/mL ตามลำดับ
ในบรรดาสายพันธุ์เซลล์มะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนักที่นำมาศึกษา 3 สายพันธุ์นี้ พบว่า SW480 มีความไวต่อ EGCG มากที่สุด ในการยับยั้งการทำงานของผนังไมโตคอนเดรีย
EGCG ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์ SW480
เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของ EGCG ที่ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง จึงต้องนำเทคนิค Wound-healing Assay และ Transwell-migration Assay มาใช้ในการทดสอบ และเนื่องจากเซลล์มะเร็งสายพันธุ์ SW480 มีความไวต่อ EGCG (มากที่สุด) ในการเพิ่มจํานวนเซลล์และการเหนี่ยวนําให้เกิด apoptosis ทีมงานวิจัยจึงได้เลือกสายพันธุ์ SW480 ในการศึกษาผลต่อการแพร่กระจาย
รูป A - EGCG ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์ SW480 ตั้งแต่ 20 μg/mL หลังจากการฟักตัว 24 ชั่วโมงโดยมีอัตราการยับยั้งสูงมากกว่า 55%
รูป B - การยับยั้งจะขยายใหญ่ขึ้นเมื่อความเข้มข้นของ EGCG เพิ่มขึ้นและเวลาในการรักษานานขึ้น
รูป C - EGCG ยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์ SW480 ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการเพิ่มความเข้มข้นของสาร EGCG
รูป D - สาร EGCG ที่ความเข้มข้น 10, 20 และ 40 μg / mL, สามารถยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์ SW480 ได้อย่างมีนัยสำคัญที่ 16.7%, 44.8% และ 66.5% ตามลําดับ
นอกจากนี้ การทดลองยังพบด้วยว่า EGCG สามารถควบคุมการแสดงออกของโปรตีน ที่ไปกระตุ้นให้เกิด apoptosis อีกด้วย
สรุป
การศึกษานี้เป็นหลักฐานที่บ่งชี้ให้เห็นฤทธิ์ของ EGCG ในการยับยั้งการเติบโตและการแพร่กระจายของมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะสายพันธุ์ SW480, SW620, และ LS411N ซึ่งทั้งหมดนี้ ชี้ให้เห็นว่า...
EGCG เป็นอาหารเสริมจากธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ผล
ผู้สนใจ สอบถามรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่ ...
⫸ Tel. 082-777-4461, 092-247-7006
⫸ Line ID: baramilab หรือ sale.04
อ้างอิง
#drbunlue #NMP #NMN #NAD #ChapaGroupAndMadePhuwiang #ย้อนวัยไปกับ_drbunlue #EGCG #อาหารเสริมชะลอวัย #ColonCancer #มะเร็งลำไส้ใหญ่ #ชาเขียว #มัทฉะ
Comments